เมนู

อนึ่ง ธรรมเหล่านั้น ปรากฏโดยความเป็นของว่างเปล่า แก่พระ-
โยคาวจรใด พระโยคาวจรนั้น ย่อมมนสิการโดยลักษณะ เมื่อมนสิการโดย
ลักษณะ ย่อมบรรลุอุปจารฌาน โดยกำหนดธาตุ ในธรรมเหล่านั้น เมื่อ
เป็นดังนั้น เมื่อมนสิการ ก็มนสิการธรรมเหล่านั้น โดยสูตรทั้ง 3 คือ ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. นี้เป็นวิปัสสนานัยของพระโยคาวจรนั้น. พระโยคาวจร
เริ่มเจริญวิปัสสนานี้และปฏิบัติไปตามลำดับ ก็ย่อมบรรลุอริยภูมิแล.
ก็คำใดข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ก็พระโยคาวจรนี้ มนสิการธรรมเหล่านี้
อย่างไร คำนั้นก็เป็นอันข้าพเจ้าพยากรณ์แล้ว ด้วยกถามีประมาณเพียงเท่านี้.
อนึ่งเล่า คำใดข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า พึงทราบการพรรณนาปาฐะนั้นอย่างนี้ โดย
ภาวนา. ความของคำนั้น ก็เป็นอันข้าพเจ้าประกาศแล้วแล.

ปกิณณกนัย


นัยเบ็ดเตล็ด


บัดนี้ พึงทราบปกิณณกนัยนี้ เพื่อความชำนาญและความฉลาด ใน
ทวัตติงสาการนี้ว่า
นิมิตฺตโต ลกฺขณโต ธาตุโต สุญฺญโตปิ จ
ขนฺธาทิโต จ วิญฺเญยฺโย ทฺวตฺตึสาการนิจฺฉโย.
พึงทราบการวินิจฉัยทวัตติงสาการ โดยนิมิต โดย
ลักษณะ โดยธาตุ โดยความว่างเปล่า และโดยขันธ์
เป็นต้น.

บรรดาข้อปกิณณกะนั้น ข้อว่าโดยนิมิต ความว่า ในทวัตติงสาการ
นี้ มีประการดังกล่าวมาแล้วนี้ มีนิมิต 160 ซึ่งพระโยคาวจร สามารถกำหนด
ทวัตติงสาการได้โดยโกฏฐาสคือเป็นส่วนๆ คือ ผมมีนิมิต 5 คือ วรรณะ สี
สัณฐาน ทรวดทรง ทิสา ทิศ โอกาส ที่เกิด ปริเฉท ตัดตอนในขนเป็นต้นก็
อย่างนี้.
ข้อว่า โดยลักษณะ ความว่า ในทวัตติงสาการมีลักษณะ 12 ซึ่ง
พระโยคาวจร สามารถทำมนสิการทวัตติงสาการได้โดยลักษณะ คือ ผมมี 4
ลักษณะ คือ ลักษณะแข้น ลักษณะเอิบอาบ ลักษณะร้อน ลักษณะพัด ใน
ขนเป็นต้น ก้อย่างนี้.
ข้อว่า โดยธาตุ ความว่า ในทวัตติงสาการ ในธาตุทั้งหลายที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในบาลีนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษบุคคลนี้ มีธาตุ
6 ดังนี้ ธาตุมี 128 ซึ่งพระโยคาวจร สามารถกำหนดทวัตติงสาการได้โดย
ธาตุคือ ในผมมีธาตุ 4 คือ ส่วนที่แข็งเป็นปรวีธาตุ ส่วนที่เอิบอาบเป็น
อาโปธาตุ ส่วนที่ร้อนเป็นเตโชธาตุ ส่วนที่พัดเป็นวาโยธาตุ. ในขนเป็นต้น
ก็อย่างนี้
ข้อว่า โดยความว่างเปล่า ความว่า ในทวัตติงสาการมีสุญญตา
128 ซึ่งพระโยคาวจร สามารถพิจารณาเห็นทวัตติงสาการ โดยความว่างเปล่า
คือในผมก่อน มีสุญญตา 4 คือ ปฐวีธาตุว่างจากอาโปธาตุเป็นต้น อาโปธาตุ
เป็นต้น ก็อย่างนั้น ว่างจากปฐวีธาตุเป็นต้น. ในขนเป็นต้นก็อย่างนี้.
ข้อว่า โดยขันธ์เป็นต้น ความว่า ในทวัตติงสาการเมื่อผมเป็นต้น
ท่านสงเคราะห์โดยขันธ์เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย โดยนัยเป็นต้น อย่างนี้ว่า
ผมทั้งหลายมีขันธ์เท่าไร มีอาตนะเท่าไร มีธาตุเท่าไร มีสัจจะเท่าไร มีสติ-
ปัฏฐานเท่าไร. กายย่อมปรากฏประหนึ่งกองหญ้าและไม้แก่พระโยคาวจรนั้น
ผู้พิจารณาเห็นอย่างนี้ เหมือนอย่างท่านกล่าวไว้ว่า

นตฺถิ สตฺโต นโร โปโส ปุคฺคโล นูปลพฺภติ
สุญฺญภูโต อยํ กาโย ติณกฏฺฐสมูปโม.
ไม่มี สัตว์ นระ บุรุษ ไม่ได้บุคคล
กายนี้มีสภาพว่างเปล่า เปรียบเสมอด้วยหญ้าและไม้.

อนึ่งเล่า ความยินดีนั้นใด อันมิใช่ของมนุษย์ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
สญฺญาคารํ ปวิฏฺฐสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ตาทิโน
อมานุสี รติ โหติ สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโต.
ท่านผู้เข้าไปยังเรือนว่าง มีจิตสงบ คงที่ พิจาร-
ณา เห็นธรรมโดยชอบ ย่อมมีความยินดี ที่ไม่ใช่ของ
มนุษย์.

ความยินดีนั้น อยู่ไม่ไกลเลย. ต่อแต่นั้น อมตะคือ ปีติและปราโมช
นั้นใด ที่สำเร็จมาแต่วิปัสสนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า
ยโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ
ลภตี ปีติปาโมชฺชํ อมตํ ตํ วิชานตํ.
พิจารณาเห็นความเกิดและดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย
โดยประการใด ๆ ปีติและปราโมชอันอมตะย่อมได้
แก่ผู้พิจารณาเห็นความเกิดดับนั้น โดยประการนั้น ๆ.

พระโยคาวจร เมื่อเสวยปีติและปราโมชอันเป็นอมตะนั้น ไม่นานเลย
ก็จะทำให้แจ้งอมตะคือพระนิพพานที่ไม่แก่ไม่ตาย อันอริยชนเสพแล้วแล.
จบกถาพรรณนาทวัตติงสาการ
แห่ง
อรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อปรมัตถโชติกา

สามเณรปัญหาในขุททกปาฐะ


[4] อะไรเอ่ยชื่อว่า 1 สัตว์ทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วย
อาหาร. อะไรเอ่ยชื่อว่า 2 นามและรูป. อะไรเอ่ยชื่อ
ว่า 3 เวทนา 3. อะไรเอ่ยชื่อว่า 4 อริยสัจ 4. อะไร
เอ่ยชื่อว่า 5 อุปาทานขันธ์ 5. อะไรเอ่ยชื่อว่า 6
อายตนะภายใน 6. อะไรเอ่ยชื่อว่า 7 โพชฌงค์ 7.
อะไรเอ่ยชื่อว่า 8 อริยมรรคมีองค์ 8. อะไรเอ่ยชื่อว่า
9 สัตตาวาส 9. อะไรเอ่ยชื่อว่า 10 ท่านผู้ประกอบ
ด้วยองค์ 10 เรียกว่าพระอรหันต์.

จบสามเณรปัญหา

4. กถาพรรณนากุมารปัญหา1


อัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง


บัดนี้ ถึงลำดับพรรณนาความของกุมารปัญหา [สามเณรปัญหา]
เป็นต้นอย่างนี้ว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่าหนึ่ง ข้าพเจ้าจักกล่าวเหตุเกิดเรื่องของ
กุมารปัญหาเหล่านั้น และประโยชน์แห่งการวางบทตั้งในที่นี้แล้วจึงจักทำการ
พรรณนาความ.
จะกล่าวเหตุเกิดเรื่องของกุมารปัญหาเหล่านั้นก่อน. ชื่อว่าโสปากะ
เป็นพระมหาสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านโสปากะนั้น สำเร็จพระอรหันต์

1. บาลีเป็นสามเณรปัญหา.